วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

รู้จักใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants: DW)

          ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ถือในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในราคา และเวลาที่กำหนด


สัญลักษณ์ของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants: DW)

          ปัจจุบัน DW ที่อยู่บนกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะแสดงในชื่อย่อที่มีความยาวไม่เกิน 12 หลัก ดังนี้
            
UUUU    หมายถึง    ชื่อย่อของสินทรัพย์อ้างอิง
II            หมายถึง    ผู้ออก ปัจจุบันหมายถึง หมายเลขบริษัทสมาชิก ตลท.
C            หมายถึง    ประเภทของ DW โดย Call Warrant แทนด้วย C และ Put Warrant แทนด้วย P
YYMM    หมายถึง    ชื่อย่อของปี ค.ศ. และเดือนของวันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Month)
A            หมายถึง    รุ่นของ DW โดยเรียงจาก A-Z ตามรุ่นที่มี Last Trading Month เดียวกัน


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา

ปัจจัยเพิ่มขึ้น / ลดลง
ราคา CALL DW
ราคา PUT DW
ราคาใช้สิทธิ//width=17//////
ราคาหุ้นอ้างอิง/////////
ความผันผวนของหุ้นอ้างอิง/////////
อายุคงเหลือของ DW/////////
อัตราดอกเบี้ย/////////
เงินปันผลของหุ้นอ้างอิง/////////


ความเสี่ยงของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative WarrantsDW)
          1. ความเสี่ยงที่ราคาของ DW เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อราคาของ DW ได้แก่ ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลงไป อายุคงเหลือของ DW ที่ลดลง ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลง การจ่ายเงินปันผลของหุ้นอ้างอิง และอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป 
          2.ความเสี่ยงที่ผู้ออก DW อาจไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ โดยผู้ลงทุนอาจพิจารณาจากฐานะการเงินและอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของผู้ออก
          3.สภาพคล่องของ DW ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ (อุปสงค์: Demand) และจำนวน DW ที่มีอยู่ (อุปทาน: Supply) ถึงแม้ผู้ดูแลสภาพคล่องจะทำการเสนอซื้อเสนอขายตลอดเวลา การซื้อขาย DW ก็ยังขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อขายของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ


          ข้อดีของ DW คือ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการซื้อขาย DW สูงกว่าการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรงเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน ถ้าเป็นผลขาดทุน การซื้อขาย DW จะมีอัตราการขาดทุนที่สูงกว่าการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรงเช่นกัน ทั้งนี้ ผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้ลงทุนมีจำนวนจำกัดเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนจ่ายไปเพื่อซื้อ DW



อ้างอิง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น