วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

BLUE-CHIP STOCK

        หุ้นบลูชิพ คือ หุ้นที่มั่นคง เป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ (มีสินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง) มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาดสูง (market capitalization) สถานะการเงินมั่นคง สามารถทำกำไรได้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา มีอัตราผลตอบแทนที่ไม่ผันผวน โดยส่วนใหญ่จะมีค่าใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์

        หุ้นบลูชิพ (Blue chip stock) จึงจัดได้ว่าเป็นหุ้นชั้นดี มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำ จึงส่งผลหุ้นบลูชิพให้มีราคาค่อนข้างสูง โดยคุณสมบัติคร่าว ๆ ของการคัดเลือกหุ้นบลูชิพมีดังต่อไปนี้:
  • มี Market Cap ขนาดใหญ่ (เช่นมากกว่า x หมื่นล้านบาท หรืออยู่ใน SET50)
  • สถานะทางการเงินมั่นคง มีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารมีชื่อเสียงในด้านความสามารถ
  • บริษัทเป็นที่รู้จักในวงกว้าง สินค้าและบริการมีคุณภาพ
  • เป็นบริษัทผู้นำตลาด มีความสามารถในการแข่งขันสูง (Competitive advantage)

ยกตัวอย่าง: หุ้นบลูชิพในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่น PTT (บริษัท ปตท.), SCC (บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย), ADVANC (บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอรวิส), CPF (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร) เป็นต้น

ยกตัวอย่าง: หุ้นบลูชิพของต่างประเทศ เช่น IBM (International Business Machines Corp.), XOM (Exxon Mobil Corp.), KO (Coca-Cola Co.), JPM (JPMorgan Chase & Co.) เป็นต้น


แหล่งที่มา
BLUE-CHIP STOCK (หุ้นบลูชิพ)
http://hoondb.com/หุ้นบลูชิพ/

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดหาเงินทุนโดยการเช่าสินทรัพย์ (Lease Financing)

           หมายถึง การจัดหาเงินทุนระยะปานกลาง โดยการจัดทำสัญญาระหว่างเจ้าของสินทรัพย์ เรียกว่า ผู้ให้เช่า (lessor) ฝ่ายหนึ่งกับผู้ขอใช้สิทธิจากการใช้สินทรัพย์ เรียกว่า ผู้เช่า (lessee) โดยการกำหนดเงื่อนไขที่สำคัญร่วมกัน ได้แก่

  • ข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาของสัญญาเช่า
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับจำนวนงวดและจำนวนเงินค่าเช่าต่องวด
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับการต่ออายุของสัญญา
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับความรับผิดชอบค่าซ่อมแซม ค่าบำรุงรักษา ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าภาษี หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ
ซึ่งสัญญาเช่าสินทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สัญญาการเช่าการเงิน (Financial Lease) และ สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) โดยมีความแตกต่างในด้านต่างๆดังนี้

สัญญาเช่าการเงิน 
(Financial Lease) 
 สัญญาเช่าดำเนินงาน
(Operating Lease)
1. ทรัพย์สินที่ให้เช่า​
​เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง อายุการใช้งานนาน เช่น เครื่องจักร เครื่องบิน เรือเดินทะเล และรถยนต์
​เป็นทรัพย์สินที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว หรือใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องใช้ สำนักงาน
2. ระยะเวลาเช่า
​ระยะเวลาเช่าแน่นอนและนานครอบคลุมอายุการใช้งานของทรัพย์สิน หรือไม่เกิน 10 ปี และผู้เช่าส่วนใหญ่มักจะซื้อทรัพย์สินนั้นเมื่อสิ้นสุดสัญญา
เป็นการเช่าในระยะสั้น อายุสัญญาจะสั้นกว่าอายุการใช้งานของทรัพย์สิน​
3. ความรับผิดชอบในการดูแลทรัพย์สิน​
​ผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายและบำรุงรักษาทรัพย์สินที่เช่า
ผู้ให้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบในการบำรุงรักษาทรัพย์สิน​
4. การยกเลิกสัญญา​
​ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้
​ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเมื่อใดก็ได้ โดยบอกล่วงหน้าให้อีกฝ่ายทราบ

นอกจากนี้ ยังมีประเภทของการเช่าสินทรัพย์ที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ประเภทการขายและเช่ากลับ (sale and leaseback) เป็นการเช่าที่กิจการขายสินทรัพย์ถาวรที่ตนเป็นเจ้าของให้แก่สถาบันการเงิน แล้วไปเช่ากลับคืนมาจากผู้ที่ซื้อสินทรัพย์
2. ประเภทเช่าโดยตรง (direct leasing) เป็นการเช่าที่ผู้ให้เช่าจะซื้อสินทรัพย์มาจากผู้ผลิตแล้วให้ผู้เช่าได้เช่าไปใช้
3. ประเภทการเช่าบริการ (service lease) เป็นการเช่าสินทรัพย์ที่มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
  • สินทรัพย์ที่ให้เช่าเน้นบริการหลังการให้เช่าต้องดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซม
  • ผู้ให้เช่า นอกจากจะได้รับค่าเช่าแล้วยังได้รับรายได้จากการขายเช่า
  • สัญญาการเช่าสามารถแจ้งยกเลิกได้ก่อนครบกำหนดในสัญญาทำให้เกิดความยืดหยุ่น

ข้อดีของการเช่าสินทรัพย์
  1. เป็นการจัดหาเงินทุนเต็มจำนวน
  2. ไม่มีความเสี่ยงในการล้าสมัย
  3. ไม่มีเงื่อนไขมากเหมือนการทำสัญญากู้เงินระยะปานกลาง
  4. การเช่าจะมีภาระผูกพันน้อยกว่าการกู้ยืม           
  5. ประโยชน์ทางด้านภาษี

ข้อเสียของการเช่าสินทรัพย์
  1. ประโยชน์จากการขายมูลค่าซากสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า
  2. ต้นทุนในการเช่าโดยปกติจะสูงกว่าต้นทุนจากดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อสินทรัพย์
  3. ไม่สามารถเพิกถอนสัญญาได้
  4. ธุรกิจเสียผลประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพของสินทรัพย์
แหล่งที่มา
https://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/loans/loans/Pages/hireleasing.aspx
https://www.teacher.ss.ru.ac.th/orathai_ra/file.php/1/business_finance/12.ppt

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

รู้จักใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants: DW)

          ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants) หรือเรียกสั้นๆ ว่า DW เป็นตราสารที่ผู้ออกให้สิทธิกับผู้ถือในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในราคา และเวลาที่กำหนด


สัญลักษณ์ของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants: DW)

          ปัจจุบัน DW ที่อยู่บนกระดานซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะแสดงในชื่อย่อที่มีความยาวไม่เกิน 12 หลัก ดังนี้
            
UUUU    หมายถึง    ชื่อย่อของสินทรัพย์อ้างอิง
II            หมายถึง    ผู้ออก ปัจจุบันหมายถึง หมายเลขบริษัทสมาชิก ตลท.
C            หมายถึง    ประเภทของ DW โดย Call Warrant แทนด้วย C และ Put Warrant แทนด้วย P
YYMM    หมายถึง    ชื่อย่อของปี ค.ศ. และเดือนของวันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Month)
A            หมายถึง    รุ่นของ DW โดยเรียงจาก A-Z ตามรุ่นที่มี Last Trading Month เดียวกัน


ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา

ปัจจัยเพิ่มขึ้น / ลดลง
ราคา CALL DW
ราคา PUT DW
ราคาใช้สิทธิ//width=17//////
ราคาหุ้นอ้างอิง/////////
ความผันผวนของหุ้นอ้างอิง/////////
อายุคงเหลือของ DW/////////
อัตราดอกเบี้ย/////////
เงินปันผลของหุ้นอ้างอิง/////////


ความเสี่ยงของใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative WarrantsDW)
          1. ความเสี่ยงที่ราคาของ DW เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อราคาของ DW ได้แก่ ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลงไป อายุคงเหลือของ DW ที่ลดลง ความผันผวนของสินทรัพย์อ้างอิงที่เปลี่ยนแปลง การจ่ายเงินปันผลของหุ้นอ้างอิง และอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไป 
          2.ความเสี่ยงที่ผู้ออก DW อาจไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดสิทธิ โดยผู้ลงทุนอาจพิจารณาจากฐานะการเงินและอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ของผู้ออก
          3.สภาพคล่องของ DW ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ (อุปสงค์: Demand) และจำนวน DW ที่มีอยู่ (อุปทาน: Supply) ถึงแม้ผู้ดูแลสภาพคล่องจะทำการเสนอซื้อเสนอขายตลอดเวลา การซื้อขาย DW ก็ยังขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อขายของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ


          ข้อดีของ DW คือ ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการซื้อขาย DW สูงกว่าการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรงเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน ถ้าเป็นผลขาดทุน การซื้อขาย DW จะมีอัตราการขาดทุนที่สูงกว่าการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรงเช่นกัน ทั้งนี้ ผลขาดทุนสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้ลงทุนมีจำนวนจำกัดเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ลงทุนจ่ายไปเพื่อซื้อ DW



อ้างอิง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย